เมนู

อุปจารเรือน บ้าน อุปจารบ้าน ( และ ) ป่า. เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า เมื่อ
ภิกษุลักสิ่งของที่มีเจ้าของตั้งแต่มีราคาบาทหนึ่งขึ้นไปในเรือนก็ดี อุปจารเรือน
ก็ดี บ้านก็ดี อุปจารบ้านก็ดี ป่าก็ดี เป็นปาราชิกเหมือนกัน.

[

อรรถาธิบายสิ่งของที่เจ้าของมีกรรมสิทธิ์อยู่

]
บัดนี้ เพื่อแสดงเนื้อความแห่งคำเป็นต้นว่า พึงถือเอาทรัพย์อันเจ้าของ
ไม่ได้ให้ ด้วยส่วนแห่งความเป็นขโมย ดังนี้ พระองค์จึงตรัสว่า อทินฺนํ นาม
เป็นต้น. ในคำว่า อทินฺนํ นาม เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- ในทันต-
โปณสิกขาบท แม้สิ่งของ ๆ ตนที่ยังไม่รับประเคน ซึ่งเป็นกัปปิยะ แต่เป็น
ของที่ไม่ควรกลืนกิน เรียกว่า ของที่เขายังไม่ได้ให้. แต่ในสิกขาบทนี้ สิ่งของ
อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ผู้อื่นหวงแหน ซึ่งเจ้าของ เรียกว่า สิ่งของอันเจ้าของ
ไม่ได้ให้. สิ่งของนี้นั้น อันเจ้าของเหล่านั้นไม่ได้ให้ ด้วยกายหรือวาจา
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสิ่งของอันเจ้าของไม่ได้ให้. ชื่อว่า อันเขายังไม่ได้ละวาง
เพราะว่าเจ้าของยังไม่ได้สละพ้นจากมือของตน หรือจากที่ ๆ ตั้งอยู่เดิม. ชื่อว่า
อันเจ้าของยังไม่ได้สละทิ้ง เพราะว่า แม้ทรัพย์ตั้งอยู่ในที่เดิมแล้ว แต่เจ้าของ
ก็ยังไม่ได้สละทิ้ง เพราะยังไม่หมดความเสียดาย. ชื่อว่าอันเจ้าของรักษาอยู่
เพราะเป็นของที่เจ้าของยังรักษาไว้ โดยจัดแจงการอารักขาอยู่. ชื่อว่าอันเขา
ยังคุ้มครองอยู่ เพราะเป็นของที่เจ้าของใส่ไว้ในที่ทั้งหลายมีตู้เป็นต้นแล้ว
ปกครองไว้. ชื่อว่า อันเขายังถือว่าเป็นของเรา เพราะเป็นของที่เจ้าของยังถือ
กรรมสิทธิ์ว่าเป็นของเรา โดยความถือว่าของเราด้วยอำนาจตัณหาว่า ทรัพย์นี้
ของเรา. ชื่อว่า ผู้อื่นหวงแหน เพราะว่า เป็นของอันชนเหล่าอื่นผู้เป็นเจ้าของ
ทรัพย์เหล่านั้นยังหวงแหนไว้ ด้วยกิจมีอันยังไม่ทิ้ง ยังรักษา และปกครอง
อยู่เป็นต้นเหล่านั้น. ทรัพย์นั่นชื่อว่าอันเจ้าของไม่ได้ให้.

[

อรรถาธิบายสังขาตศัพท์ลงในอรรถตติยาวิภัตติ

]
ในบทว่า เถยฺยสงฺขาตํ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :- โจร ชื่อว่า ขโมย.
ความเป็นแห่งขโมย ชื่อว่า เถยฺยํ. บทว่า เถยฺยํ นี้ เป็นชื่อแห่งจิตคิดจะลัก.
สองบทว่า สงฺขา สงฺขาตํ นั้น โดยเนื้อความก็เป็นอันเดียวกัน. บทว่า
สงฺขาตํ นั้น เป็นชื่อแห่งส่วน เหมือนสังขาตศัพท์ในอุทาหรณ์ทั้งหลายว่า
ก็ส่วนแห่งธรรมเครื่องเนิ่นช้าทั้งหลาย มีสัญญาเป็นเหตุ ดังนี้เป็นต้น. ส่วน
นั้นด้วยความเป็นขโมยด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เถยฺยสงฺขาตํ. อธิบายว่า
ส่วนแห่งจิตดวงหนึ่งซึ่งเป็นส่วนแห่งจิตเป็นขโมย. ก็คำว่า เถยฺยสงฺขาตํ นี้
เป็นปฐมาวิภัตติ ลงในอรรถแห่งตติยาวิภัตติ ; เพราะฉะนั้นบัณฑิตพึงเห็น
โดยเนื้อความว่า เถยฺยสงฺขาเตน แปลว่า ด้วยส่วนแห่งความเป็นขโมย ดังนี้.
ก็ภิกษุใด ย่อมถือเอา (ทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้) ด้วยส่วนแห่งความ
เป็นขโมย, ภิกษุนั้น ย่อมเป็นผู้มีจิตแห่งความเป็นขโมย ; เพราะฉะนั้น เพื่อ
ไม่คำนึงถึงพยัญชนะแสดงเฉพาะแต่ใจความเท่านั้น พึงทราบว่า พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสบทภาชนะแห่งบทว่า เถยฺยสงฺขาตํ นั้นไว้อย่างนี้ว่า ผู้มีจิต
แห่งความเป็นขโมย คือ ผู้มีจิตคิดลัก ดังนี้.

[

อรรถาธิบายบทมาติกา 6 บท

]
ก็ในคำว่า อาทิเยยฺย ฯ เป ฯ สงฺเกตํ วีตินาเมยฺย นี้ บัณฑิต
พึงทราบว่า บทแรกพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยอำนาจการตู่เอา, บทที่ 2
ตรัสด้วยอำนาจแห่งภิกษุผู้นำเอาทรัพย์ของบุคคลเหล่าอื่นไป, บทที่ 3 ตรัส
ด้วยอำนาจแห่งทรัพย์ที่เขาฝังไว้, บทที่ 4 ตรัสด้วยอำนาจแห่งทรัพย์ที่มี
วิญญาณ, บทที่ 5 ตรัสด้วยอำนาจแห่งทรัพย์ที่เขาเก็บไว้บนบกเป็นต้น, บทที่
6 ตรัสด้วยอำนาจแห่งความกำหนดหมาย หรือด้วยอำนาจแห่งด่านภาษี.